วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

การจัดการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิสซึ่ม (Consturctivism)
การสร้างองค์ความรู้ เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้และการเรียนรู้ที่มีพื้นฐานมาจากจิตวิทยา ปรัชญา และมนุษยวิทยา โดยมีความเชื่อว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง  อาศัยประสบการณ์ เดิมที่มีอยู่ โยงความรู้เดิม กับความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน  ครูผู้สอนต้องเป็นผู้จัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม

การเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
หัวใจสำคัญของความสำเร็จของการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ที่ความเป็นครูมืออาชีพที่มุ่งมั่นคิดค้น แสวงหาวิธีการต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนทุกคนมีความสำเร็จในการเรียนรู้เต็มศักยภาพ ครบถ้วนตามมาตรฐาน โดยใช้พื้นฐานความรักความเมตตาที่ครูมีต่อผู้เรียนทุกคนอย่างแท้จริง

Learning Electronic Learning
การนำเอาเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ การอบรม การทดสอบและประเมินผลผ่านเว็บเพจ  ซึ่งกระบวนการการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่เหมาะสม  ซึ่งช่วยลดข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน  ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความต้องการและความจำเป็นของตนได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
 
Backward Design หรือการออกแบบย้อนกลับ 
เป็นกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ที่กำหนดหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียน/กิจกรรมการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ หรือตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังก่อน แล้วจึงออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ และแสดงความรู้ ความสามารถตามหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียน/กิจกรรมการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่กำหนดไว้

การประกันคุณภาพการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษา (Q.A.)  คือ การบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง และสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ซึ่งมีความสำคัญ
                1.  ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้  
                2.  ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ
                3.  ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและมาตรฐานอย่างจริงจัง
ประเภทของระบบประกันคุณภาพ มี 2  ประเภท คือ ระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก  ซึ่งผู้ได้รับประโยชน์จากการประกันคุณภาพการศึกษา (Q.A.)   ได้แก่  นักศึกษา  คณาจารย์  ท้องถิ่นสถานศึกษา  ผู้ปกครอง  ประชาชน  และประเทศชาติ

การบริหารแบบมีส่วนร่วม
การที่บุคคลในองค์กรหรือต่างองค์กรได้ร่วมกันเพื่อจัดการงานให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและสำเร็จ  ทั้งนี้การมีส่วนร่วมนั้น ๆ    จะอยู่ในขั้นตอนใด ๆ  ก็ตาม โดยขึ้นอยู่กับความรู้   ความสามารถ  ประสบการณ์   ข้อจำกัดขององค์กรในแต่ละกระบวนการของการดำเนินการบริหารเป็นเกณฑ์ สิ่งสำคัญคือต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ 

การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์
การจัดกลุ่มให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ร่วมกัน ในลักษณะกลุ่มสัมพันธ์ เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกัน และกัน  มีความเอื้ออาทรต่อกัน มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่อบอุ่น และเป็นมิตร ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้พฤติกรรมของผู้อื่น เกิดความเข้าใจในตนเอง และผู้อื่นยิ่งขึ้น และผู้เรียนได้เรียนรู้ที่จะปรับตัวเองให้เข้ากับผู้อื่นได้ดี มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานเป็นทีมสัมพันธ์

ห้องเรียนคุณภาพ
                ห้องเรียนคุณภาพเป็นเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษาของประเทศที่สำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งคือด้านคุณภาพการศึกษา  ปัจจุบันมุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพมาตรฐานโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดแนวทางขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่สถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดการเปลี่ยนแปลง     เชิงคุณภาพในระดับปฏิบัติ คือ ระดับห้องเรียนโดยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจและทักษะพื้นฐาน  เกี่ยวกับ ห้องเรียนคุณภาพที่มีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ
1. นำการเปลี่ยนแปลงสู่ห้องเรียน  2. ออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน  3.  การวิจัยในชั้นเรียน 
4.  การใช้ ICT เพื่อการสอนและสนับสนุนการสอน  และ 5. การสร้างวินัยเชิงบวก (Positive Discipline)

การจัดการความรู้ (Knowledge Management - KM)
เป็น การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์    ใช้ความรู้ในองค์กร รวมถึงกระบวนการ (Process) ที่ดำเนินการร่วมกันโดยผู้ปฏิบัติงานในองค์กรหรือหน่วยงานย่อยขององค์กร        เพื่อสร้างและใช้ความรู้ในการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิม
การจัดการความรู้ในความหมายนี้จึงเป็นกิจกรรมของผู้ปฏิบัติงาน ไม่ใช่กิจกรรมของนักวิชาการหรือนักทฤษฎี แต่นักวิชาการหรือนักทฤษฎีอาจเป็นประโยชน์ในฐานะแหล่งความรู้ (Resource Person)
                การจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่เป็นวงจรต่อเนื่อง เกิดการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เป้าหมาย คือ การพัฒนางานและพัฒนาคน โดยมีความรู้เป็นเครื่องมือ มีกระบวนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ มีกระบวนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ

ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom)
การเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้ช่องทางของระบบการสื่อสารและ
อินเทอร์เน็ตผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตเข้าไปเรียนในเว็บไซต์ สรุปได้ว่า

ห้องเรียนปกติ
ห้องเรียนเสมือน
1. การพูดและการฟัง
1. การพิมพ์และการอ่าน
2. สถานที่เรียนใดก็ได้ เวลาใดก็ได้
2. มีการกำหนดตารางเวลาเรียน
3. ผู้เรียนต้องจดบันทึก
3. การจดบันทึกถูกบันทึกโดยอัตโนมัติ
4. คอมพิวเตอร์ไม่ได้ถูกกำหนดสำหรับผู้เรียน
4.คอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของการอำนวยความสะดวก



 การบริหารเชิงระบบ
การศึกษาวิธีการบริหารเชิงระบบเป็นกระบวนการหนึ่งที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการบริหารงานในองค์การประเภทต่างๆ ทำให้ผู้บริหารเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมภายนอก บริหารลักษณะองค์รวมเป้าหมาย กระบวนการระบบย่อย องค์ประกอบต่างๆ มีปฏิสัมพันธ์กัน มีการปฏิบัติงานแลกเปลี่ยนข่าวสาร เพื่อบรรลุเป้าหมายทางการบริหาร

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Cooperative Learning)
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นการจัดการเรียนการสอนไม่ใช่วิธีการสอน การเรียนแบบร่วมมือเป็นวิธีการที่เน้นการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้นักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก
แต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถต่างกัน แต่ละคนจะต้องมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแท้จริงและในความสำเร็จของกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการแบ่งปันทรัพยากรการเรียนรู้
เป็นกำลังใจแก่กันและกัน สมาชิกในกลุ่มไม่เพียงแต่รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองเท่านั้น แต่จะต้อง
รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม ความสำเร็จของแต่ละบุคคลคือความสำเร็จของกลุ่ม

การจัดการเรียนการสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยใช้ CIPPA Model
เป็นนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่ง ที่รองศาสตรจารย์ทิศนา  แขมมณี อาจารย์จากคณะครุศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนาขึ้นจากการรวบรวมและประสานสัมพันธ์ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ จนทำให้เกิดเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในลักษณะใหม่ที่เรียกว่า ซิปปา โมเดล สามารถช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์  มีกิจกรรมการเรียนการสอนมีขั้นตอนสำคัญ 7 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นทบทวนความรู้เดิม 2. ขั้นแสวงหาความรู้ใหม่ 3. ขั้นการศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม  4. ขั้นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม  5. ขั้นการสรุปและจัดระเบียบความรู้  6. ขั้นการแสดงผลงาน และ 7. ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ ขั้นตอนตั้งแต่ขั้นที่ 1-6 เป็นกระบวนการของการสร้างความรู้ (construction of knowledge) ซึ่งครูสามารถจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีโอกาสปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน (interaction) และฝึกฝนทักษะกระบวนการต่าง ๆ (process learning) อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากขั้นตอนแต่ละขั้นตอนช่วยให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมหลากหลายที่มีลักษณะให้ผู้เรียนได้มีการเคลื่อนไหวทางกาย ทางสติปัญญา ทางอารมณ์และทางสังคม(physical participation)อย่างเหมาะสม อันช่วยให้ผู้เรียนตื่นตัว สามารถรับรู้และเรียนรู้ได้อย่างดี จึงกล่าวได้ว่าขั้นตอนทั้ง 6 มีคุณสมบัติตามหลักการ CIPP ส่วนขั้นตอนที่ 7 เป็นขั้นตอนที่ช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ (application) จึงทำให้รูปแบบนี้มีคุณสมบัติครบตามหลัก CIPPA

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  (School  Based  Management   :   SBM)
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  เป็นกลยุทธ์ทางการบริหารและการจัดการศึกษาที่กระจายอำนาจในการจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นศูนย์กลาง  ให้โรงเรียนมีอำนาจ อิสระคล่องตัวในการตัดสินใจดำเนินการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนภายใต้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา  การกระจายอำนาจ การจัดการศึกษา ของโรงเรียนโดยมุ่งเน้นผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบที่เกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ และการแสดงภาระงานที่สามารถตรวจสอบได้ของโรงเรียน


ที่มา : จากการรายงานของนักศึกษาปริญญาโท รุ่น 3  มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น